ศูนย์บริการประชาชน

 ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่ "ศูนย์บริการประชาชน" ที่ทำการปกครองจังหวัดพัทลุง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย  วัตถุประสงค์เพื่อ อำนวยความสะดวก สำหรับประชาชน ที่มีความประสงค์ต้องการทราบข้อมูลข่าวสาร กฎระเบียบ ตลอดจน คุณสมบัติต่างๆ  เกี่ยวกับ กฎหมาย 6 ฉบับ อันได้แก่    งานตาม ...
พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
พ.ร.บ.การพนัน
พ.ร.บ.ควมคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร
พ.ร.บ.โรงรับจำนำ และ
พ.ร.บ.โรงแรม

     เพื่อใช้ในการประกอบการเตรียมตัว ถึงขึ้นตอนต่างๆ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต พร้อมทั้งรายละเอียดของเอกสาร ที่ต้องใช้ ประกอบการพิจารณา การขออนุญาต ของทั้ง 6 พ.ร.บ. ก่อน ที่จะต้องเดินทางเข้ามารับบริการจริง ด้วยตนเอง ณ. จุดบริการของศูนย์บริการประชาชน

:: ดาวน์โหลดเอกสาร

  คำขอย้ายสถานที่ตั้งโรงรับจำนำ
       อัตราค่าธรรมเนียมขายทอดตลาด
       เอกสารประกอบการขอจัดตั้งสมาคม
       เอกสารประกอบการจัดตั้งมูลนิธิ
       แบบการแจ้งเป็นผู้จัดการโรงแรม
       แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม(แบบ ร.ร.1-1)
       แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม(แบบ ร.ร.1)
       แบบคำขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป(แบบ ร.ร.1-3)
       แบบคำขอโอน-รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม(แบบ ร.ร.1-2)
       แบบคำร้องขอต่ออายุใบอนุญาต
       แบบคำร้องขอใบอนุญาต
       แบบพิมพ์คำขอของมูลนิธิ
       แบบใบรับแจ้งการเป็นผู้จัดการโรงแรม
       การขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัล
       การขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
       คำขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนัน(พน1)
       คำขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนัน
       คำขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำ
       คำร้องทั่วไปขายทอดตลาด
       คู่มือขออนุญาตรับจำนำ
       ตัวอย่างแบบข้อจำกัดความรับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้า
       หนังสือรับรองการไม่สามารถนำเอกสารบางอย่างมาประกอบคำขอใบอนุญาต
       เอกสารประกอบการบรรยายกฎหมายโรงแรม
       ความผิดเกี่ยวกับการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
       คุณสมบัตรผู้ขายทอดตลาด
       การขอใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ  
     การต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ



การบริการด้านทะเบียนราษฎร์ 

การแจ้งเกิด :

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้งการเกิด
1. คนเกิดในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด
2. คนเกิดนอกบ้าน
ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเกิด
เอกสารที่ใช้ 
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
ขั้นตอนการดำเนินงาน 
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตรแล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน แล้วมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับ ผู้แจ้ง
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต







การทำบัตรประจำตัวประชาชน


พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา โดยผลของกฎหมายฉบับดังกล่าว ทำให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม และมีรายละเอียดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
กลุ่มบุคคลประเภทที่ 1 ได้แก่ บุคคลที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 มีผลบังคับใช้คือผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ หากพ้นกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
กลุ่มบุคคลประเภทที่ 2 ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง 15 ปี อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 ใช้บังคับ คือ ผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 ต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 1 ปี คือภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 หากพ้นกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
กลุ่มบุคคลประเภทที่ 3 ได้แก่กลุ่มบุคคลที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ อยู่ก่อนที่พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 ใช้บังคับ คือผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 แต่ไม่ได้ยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อไปยื่นคำขอมีบัตรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท






ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทน บัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปี) ก็สามารถทำได้และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด

การดำเนินการเกี่ยวกับบัตรประชาชน 
1. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก 
2. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ 
3. กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย 
4. กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ 
5. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล 
6. กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน 
7. กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
8. การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร 
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต





การจดทะเบียนสมรส



หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
1. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
2. กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้
3. ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
4. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
5. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
6. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
7. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
8. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- - คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- - สมรสกับคู่สมรสเดิม
- - มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
- - ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
9. ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
เอกสารที่ใช้ 
1. บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
2. สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
3. หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
2. คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
3. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
4. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
1. การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
2. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน
3. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
สถานที่ติดต่อ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต



การหย่า



หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
การหย่า ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกระทำได้ 2 วิธี คือ
- -การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
- -การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล 
เอกสารที่ใช้ 
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ใบสำคัญการสมรส
3. หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า 
ขั้นตอนการดำเนินงาน 
กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
1. คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
2. คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน 
กรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
1. คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
2. คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใด
3. คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน 
กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
1. หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไข ให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด 

สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต











การเปลี่ยนชื่อ




หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
ตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บุคคลสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและจะมีชื่อรองด้วยก็ได้
* ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
* ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
* ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง
-ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
-ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย
-ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต
-ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้ 
เอกสารที่ใช้ 
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว) 
ขั้นตอนการดำเนินงาน 
* ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
* นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
* กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน 
* กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียนท้องที่ จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 25 บาท
* เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย 
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต





หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
เอกสารที่ใช้ 
สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล 
1. สำเนาทะเบียนบ้าน 
2. บัตรประจำตัวประชาชน 
3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) 
สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล 
1. สำเนาทะเบียนบ้าน 
2. บัตรประจำตัวประชาชน 
3. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล 
ขั้นตอนการดำเนินงาน 
1. เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) 
2. นายทะเบียนนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาต และออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล
3. ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
4. นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท
5. ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน 
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต
ค่าธรรมเนียม 50 บาท




การขอจดนามสกุลใหม่


หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล
7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล 
เอกสารที่ใช้ 
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว) 
ขั้นตอนการดำเนินงาน 
1.ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบหลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
3. นายทะเบียนท้องที่ส่งเรื่องราวการขอจดทะเบียนชื่อสกุลไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง
4. นายทะเบียนกลางพิจารณาาแล้วแจ้งผลกลับไปจังหวัด เพื่อแจ้งนายทะเบียนท้องที่แจ้งให้ผู้ขอทราบ
5. กรณีที่นายทะเบียนกลางอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท
6. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน 
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต




การจดทะเบียนรับรองบุตร


หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
เอกสารที่ใช้ 
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้เกี่ยวข้อง
- สูติบัตรของบุตร
- หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร
- หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร
- พยานบุคคล 2 คน 
ขั้นตอนการดำเนินงาน 
* บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต 
*เด็กและมารดาเด็กต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคนถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล 
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต












การแจ้งตาย


หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 
เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตาย
(1) คนตายในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ
(2) คนตายนอกบ้าน
ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
กำหนดเวลาให้แจ้งตาม (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียน กลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
หากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ 
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร
2. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า "ตาย" สีแดง ไว้หน้ารายการคนตาย
3. มอบมรณบัตร ตอนที่ 1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนคืนผู้แจ้ง
สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม 
ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต